Social Icons

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รองเท้าส้นสูง สวย...แต่อันตราย

รูปภาพ : รองเท้าส้นสูง สวย...แต่อันตราย

การ สวมใส่รองเท้านั้นก็เพื่อจะป้องกันอันตรายจากภายนอก เพื่อความสวยงาม แต่ท่านเคยคิดหรือไม่ว่า “ตัวรองเท้า” นั้น ก็อาจจะทำให้เกิดอันตราย และสร้างปัญหาให้แก่เท้าได้เหมือนกัน เชื่อว่าทุกคนคงจะต้องเคยประสพกับมันมาบ้าง ไม่มากก็น้อย เช่น รองเท้ากัด ปวดเท้า ปวดนิ้วเท้า ปวดน่องหรือในบางรายอาจจะปวดเข่า ปวดหลัง ก็เป็นไปได้ โดยเฉพาะในผู้ที่สวมใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งเป็นหัวข้อที่จะสนทนากับท่าน 
            ในเพศหญิง ถ้าส้นเท้าสูงประมาณ 4 1/2 เซ็นติเมตร และในเพศชาย ถ้ารองเท้าสูงประมาณ 3 1/2 เซ็นติเมตร นั้น เรานับว่าเขากำลังใส่รองเท้าส้นสูง 

            ส้น รองเท้าจะสูงเท่าไร จึงจะก่อให้เกิดอันตรายนั้น เป็นสิ่งที่พูดยาก เนื่องจากว่ามีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาสัมพันธ์ด้วย เช่น รูปร่างของคนๆ นั้น อ้วน หรือผอม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในคนที่กล้ามเนื้อฝ่าเท้า และขาแข็งแรงก็ย่อมจะเกิดอันตรายได้น้อยกว่าประการสุดท้าย ขึ้นอยู่กับความเคยชินที่ได้ใส่รองเท้าส้นสูงมาเป็นเวลานานๆ แต่อย่างไรก็ตามก็จะขอแนะนำว่า ” การสวมรองเท้าส้นสูง ที่มีส้นรองเท้า แหลม และสูง ย่อมจะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้มากกว่า การสวมใส่รองเท้าที่มีส้นทึบ และเตี้ย” 
            อัน เนื่องมาจากว่า ขณะที่ใส่รองเท้าส้นสูงนั้น พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายขึ้นได้ เช่น อาการปวดเมื่อย เช่น ที่ฝ่าเท้า นิ้วเท้า น่อง ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่ากล้ามเนื้อทำงานมากเกินไป จนทำให้เกิดการเมื่อยล้า หรือกล้ามเนื้อบางมัดถูกยืดมากเกินไป หรือกล้ามเนื้อบางมัดหดเกร็งอยู่เป็นเวลานานๆ เช่น กล้ามเนื้อน่อง ย่อมจะทำให้ การไหลเวียนเลือดไม่ดี และในที่สุดเกิดการกดของเอ็นร้อยหวายได้ นอกจากนี้ที่อยากจะเน้นมากคือ การปวดหลัง และปวดเท้า 
            อาการ ปวดบางตำแหน่ง เช่น นิ้วเท้า มีหนังด้าน หรือเล็บขบ ซึ่งเกิดจากการถูกบีบหรือกดทับ หรือถูกเสียดสีมากเกินไป และประการสุดท้าย การเกิดอุบัติเหตุ เช่น เท้าแพลง หรือกระดูกหัก เมื่อหกล้ม 

การป้องกันและการรักษาอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น 
            การเลือกรองเท้า 
            1. ควร เลือกสวมใส่รองเท้าส้นเตี้ย ซึ่งมีความมั่นคงมากกว่ารองเท้าส้นสูง แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องใส่รองเท้าส้นสูง ควรจะใส่รองเท้าเป็นช่วงๆ ควรจะให้เท้าพักอยู่ในท่าปกติบ้าง คนที่ลงพุงและคนที่ตั้งครรภ์ไม่ควรใส่รองเท้าสูง เนื่องจากเกิดความไม่มั่นคง และทำให้เกิดการปวดหลังได้ง่าย 
            2. พยายาม เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม มีน้ำหนักเบา พื้นรองเท้ายืดหยุ่นพอควร และกว้างพอที่จะรองรับเท้าทั้งหมดไว้ ไม่ควรใส่รองเท้าหัวแหลม ควรจะใส่รองเท้าชนิดหัวกลม เพื่อจะได้ไม่บีบนิ้วเท้า สำหรับวัสดุที่ใช้ในการทำรองเท้าควรจะนิ่มพอควร เพื่อป้องกันการเสียดสี และควรจะเป็นวัสดุที่ระบายอากาศได้ เพื่อป้องกันการอับชื้นของเท้า ข้อแนะนำในการซื้อรองเท้าใหม่ เมื่อลองสวมใส่ครั้งแรกต้องมีความรู้สึกสบายเท้า ไม่มีจุดเจ็บบริเวณต่างๆ ของเท้า ทั้งขณะยืน และเดิน 
            3. การ ดูแลระวังรักษาเท้า ควรจะทำความสะอาดเท้าทุกวันด้วยสบู่และแปรงขัดเท้า หนังด้านตามที่ต่างๆ กำจัดได้โดยการแช่น้ำอุ่น หรือนวดด้วยครีม และตัดหนังด้านนั้นทิ้ง ส้นเท้าแตก หรือแผลจากน้ำกัดเท้า ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะเป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ 

ในกรณีที่ปัญหาเกิดขึ้นกับเท้าแล้ว เราจะทำอย่างไร 
            ควร จะเริ่มแก้ปัญหาที่ ตัวรองเท้าเสียก่อน โดยการเปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่ และลดระดับความสูงของส้นรองเท้าลง และให้ปฏิบัติตนเองต่อไปนี้ 
            เมื่อมีอาการปวดเมื่อย ให้แช่เท้าด้วยน้ำร้อนที่พอทนได้ วันละครั้ง นาน 10-15 นาที พร้อมกับออกกำลังกายเท้า และนิ้วเท้าไปด้วย โดยการกระดกปลายเท้าขึ้น ถีบปลายเท้าลง งอนิ้วเท้า เหยียดนิ้วเท้า 

ภายหลังการแซ่น้ำอุ่น ก็ให้ออกกำลังในท่าต่อไปนี้ 
            ก) กระดกปลายเท้าขึ้นพร้อมกับงอนิ้วเท้า ถีบปลายเท้าลง พร้อมกับเหยียดนิ้วเท้าขึ้น 
            ข) หันฝ่าเท้าเข้าด้านในพร้อมกับงอนิ้วเท้า หันฝ่าเท้าออกทางด้านนอก พร้อมกับเหยียดนิ้วเท้า 
            ค) ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง โดยเท้าวางห่างจากกำแพง 2-3 ฟุต ข้อสอกเหยียดตรงให้ฝ่ามือสัมผัสกำแพงในระดับไหล่ หลังจากนั้นให้งอข้อศอก เพื่อให้ลำตัวชิดกำแพง ส่วนข้อตะโพก ข้อเข่าเหยียดตรงเสมอพยายามให้ส้นเท้าสัมผัสพื้นตลอดเวลา ทุกท่าทำวันละ 20-30 ครั้ง 
            การ นวด การบีบ โดยการนวดด้วยมือทั้งเท้า โดยเฉพาะอุ้งเท้าซึ่งมีเส้นเลือด เส้นประสาทและกล้ามเนื้อจำนวนมาก นอกจากนี้อาจจะเครื่องช่วย เช่น กะลา กระบอกไม้ไผ่ก็ได้ โดยการเหยียบไปบนส่วนนูนของมัน 
            ในกรณีได้รับอุบัติเหตุ เช่น เท้าแพลง ในระยะ 1-2 วันแรก ควรประคบด้วยน้ำแข็งนาน 5-10 นาที พร้อมกับพักการใช้ข้อเท้า โดยพันด้วยผ้ายืด ถ้ายังไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์ 

รศ.พญ.กานดา ใจภักดี 
ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

http://www.healthkonthai.com/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87/




รองเท้าส้นสูง สวย...แต่อันตราย

การ สวมใส่รองเท้านั้นก็เพื่อจะป้องกันอันตรายจากภายนอก เพื่อความสวยงาม แต่ท่านเคยคิดหรือไม่ว่า “ตัวรองเท้า” นั้น ก็อาจจะทำให้เกิดอันตราย และสร้างปัญหาให้แก่เท้าได้เหมือนกัน เชื่อว่าทุกคนคงจะต้องเคยประสพกับมันมาบ้าง ไม่มากก็น้อย เช่น รองเท้ากัด ปวดเท้า ปวดนิ้วเท้า ปวดน่องหรือในบางรายอาจจะปวดเข่า ปวดหลัง ก็เป็นไปได้ โดยเฉพาะในผู้ที่สวมใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งเป็นหัวข้อที่จะสนทนากับท่าน
ในเพศหญิง ถ้าส้นเท้าสูงประมาณ 4 1/2 เซ็นติเมตร และในเพศชาย ถ้ารองเท้าสูงประมาณ 3 1/2 เซ็นติเมตร นั้น เรานับว่าเขากำลังใส่รองเท้าส้นสูง

ส้น รองเท้าจะสูงเท่าไร จึงจะก่อให้เกิดอันตรายนั้น เป็นสิ่งที่พูดยาก เนื่องจากว่ามีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาสัมพันธ์ด้วย เช่น รูปร่างของคนๆ นั้น อ้วน หรือผอม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในคนที่กล้ามเนื้อฝ่าเท้า และขาแข็งแรงก็ย่อมจะเกิดอันตรายได้น้อยกว่าประการสุดท้าย ขึ้นอยู่กับความเคยชินที่ได้ใส่รองเท้าส้นสูงมาเป็นเวลานานๆ แต่อย่างไรก็ตามก็จะขอแนะนำว่า ” การสวมรองเท้าส้นสูง ที่มีส้นรองเท้า แหลม และสูง ย่อมจะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้มากกว่า การสวมใส่รองเท้าที่มีส้นทึบ และเตี้ย”
อัน เนื่องมาจากว่า ขณะที่ใส่รองเท้าส้นสูงนั้น พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายขึ้นได้ เช่น อาการปวดเมื่อย เช่น ที่ฝ่าเท้า นิ้วเท้า น่อง ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่ากล้ามเนื้อทำงานมากเกินไป จนทำให้เกิดการเมื่อยล้า หรือกล้ามเนื้อบางมัดถูกยืดมากเกินไป หรือกล้ามเนื้อบางมัดหดเกร็งอยู่เป็นเวลานานๆ เช่น กล้ามเนื้อน่อง ย่อมจะทำให้ การไหลเวียนเลือดไม่ดี และในที่สุดเกิดการกดของเอ็นร้อยหวายได้ นอกจากนี้ที่อยากจะเน้นมากคือ การปวดหลัง และปวดเท้า
อาการ ปวดบางตำแหน่ง เช่น นิ้วเท้า มีหนังด้าน หรือเล็บขบ ซึ่งเกิดจากการถูกบีบหรือกดทับ หรือถูกเสียดสีมากเกินไป และประการสุดท้าย การเกิดอุบัติเหตุ เช่น เท้าแพลง หรือกระดูกหัก เมื่อหกล้ม

การป้องกันและการรักษาอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
การเลือกรองเท้า
1. ควร เลือกสวมใส่รองเท้าส้นเตี้ย ซึ่งมีความมั่นคงมากกว่ารองเท้าส้นสูง แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องใส่รองเท้าส้นสูง ควรจะใส่รองเท้าเป็นช่วงๆ ควรจะให้เท้าพักอยู่ในท่าปกติบ้าง คนที่ลงพุงและคนที่ตั้งครรภ์ไม่ควรใส่รองเท้าสูง เนื่องจากเกิดความไม่มั่นคง และทำให้เกิดการปวดหลังได้ง่าย
2. พยายาม เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม มีน้ำหนักเบา พื้นรองเท้ายืดหยุ่นพอควร และกว้างพอที่จะรองรับเท้าทั้งหมดไว้ ไม่ควรใส่รองเท้าหัวแหลม ควรจะใส่รองเท้าชนิดหัวกลม เพื่อจะได้ไม่บีบนิ้วเท้า สำหรับวัสดุที่ใช้ในการทำรองเท้าควรจะนิ่มพอควร เพื่อป้องกันการเสียดสี และควรจะเป็นวัสดุที่ระบายอากาศได้ เพื่อป้องกันการอับชื้นของเท้า ข้อแนะนำในการซื้อรองเท้าใหม่ เมื่อลองสวมใส่ครั้งแรกต้องมีความรู้สึกสบายเท้า ไม่มีจุดเจ็บบริเวณต่างๆ ของเท้า ทั้งขณะยืน และเดิน
3. การ ดูแลระวังรักษาเท้า ควรจะทำความสะอาดเท้าทุกวันด้วยสบู่และแปรงขัดเท้า หนังด้านตามที่ต่างๆ กำจัดได้โดยการแช่น้ำอุ่น หรือนวดด้วยครีม และตัดหนังด้านนั้นทิ้ง ส้นเท้าแตก หรือแผลจากน้ำกัดเท้า ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะเป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้

ในกรณีที่ปัญหาเกิดขึ้นกับเท้าแล้ว เราจะทำอย่างไร
ควร จะเริ่มแก้ปัญหาที่ ตัวรองเท้าเสียก่อน โดยการเปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่ และลดระดับความสูงของส้นรองเท้าลง และให้ปฏิบัติตนเองต่อไปนี้
เมื่อมีอาการปวดเมื่อย ให้แช่เท้าด้วยน้ำร้อนที่พอทนได้ วันละครั้ง นาน 10-15 นาที พร้อมกับออกกำลังกายเท้า และนิ้วเท้าไปด้วย โดยการกระดกปลายเท้าขึ้น ถีบปลายเท้าลง งอนิ้วเท้า เหยียดนิ้วเท้า

ภายหลังการแซ่น้ำอุ่น ก็ให้ออกกำลังในท่าต่อไปนี้
ก) กระดกปลายเท้าขึ้นพร้อมกับงอนิ้วเท้า ถีบปลายเท้าลง พร้อมกับเหยียดนิ้วเท้าขึ้น
ข) หันฝ่าเท้าเข้าด้านในพร้อมกับงอนิ้วเท้า หันฝ่าเท้าออกทางด้านนอก พร้อมกับเหยียดนิ้วเท้า
ค) ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง โดยเท้าวางห่างจากกำแพง 2-3 ฟุต ข้อสอกเหยียดตรงให้ฝ่ามือสัมผัสกำแพงในระดับไหล่ หลังจากนั้นให้งอข้อศอก เพื่อให้ลำตัวชิดกำแพง ส่วนข้อตะโพก ข้อเข่าเหยียดตรงเสมอพยายามให้ส้นเท้าสัมผัสพื้นตลอดเวลา ทุกท่าทำวันละ 20-30 ครั้ง
การ นวด การบีบ โดยการนวดด้วยมือทั้งเท้า โดยเฉพาะอุ้งเท้าซึ่งมีเส้นเลือด เส้นประสาทและกล้ามเนื้อจำนวนมาก นอกจากนี้อาจจะเครื่องช่วย เช่น กะลา กระบอกไม้ไผ่ก็ได้ โดยการเหยียบไปบนส่วนนูนของมัน
ในกรณีได้รับอุบัติเหตุ เช่น เท้าแพลง ในระยะ 1-2 วันแรก ควรประคบด้วยน้ำแข็งนาน 5-10 นาที พร้อมกับพักการใช้ข้อเท้า โดยพันด้วยผ้ายืด ถ้ายังไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์

รศ.พญ.กานดา ใจภักดี
ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล