Social Icons

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การกินเผ็ดมีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง


รูปภาพ : การกินเผ็ดมีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง

กินเผ็ดก็คือกินอาหารที่ใส่ พริกลงไปมากๆ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ตอบไว้ว่า ประโยชน์ของพริกมีหลายอย่าง เช่น ช่วยเพิ่มสารแห่งความสุขคือ เอ็นโดรฟิน บรรเทาอาการเจ็บปวด บรร เทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก ลดปริมาณคอเลสเตอรอล 

ทั้งนี้จากงานวิจัยของญี่ปุ่นพบว่า พริกช่วยเพิ่มอุณหภูมิ ในร่างกายและช่วยในการเผาผลาญ มีประโยชน์เรื่องการควบคุมน้ำหนัก 

ขณะเดียวกันยังช่วยละลายเสมหะที่เหนียวข้นให้จางลง ช่วยให้ขับเสมหะออกมาได้ง่าย สำหรับผู้ป่วยหอบหืด พริกจะช่วยทำให้หลอดลมขยายตัวได้ดี ไม่หดเกร็ง ดังนั้นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดกินพริกจะดี

การกินพริกยังช่วยลดปริมาณสารที่ทำให้แก่ คือ อินซูลิน มีรายงานว่า 30 นาทีหลังกินพริก อินซูลินจะไม่ขึ้นเลย พออินซูลินไม่ขึ้น ก็จะไม่ทำให้รู้สึกอยากหวาน 

นอกจากนี้วิตามินซีในพริกยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง จากผลการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า พริกยังช่วยในการสลายลิ่มเลือดด้วย

นอกจากการบริโภคแล้ว ยังใช้ทำเป็นเจล ใช้ทารักษาผิวหนังอักเสบ แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว เข่าอักเสบ เริม หรืองูสวัด

ส่วนที่หลายคนมีความเชื่อว่าการกินพริกมากๆ หรือรับประทานอาหารรสเผ็ดจัดจะทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารนั้น สารในพริกมีฤทธิ์เป็นกรดก็จริง แต่พริกไม่ได้ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารน่าจะมาจากการกิน อาหารมันๆ มากกว่า เช่น ข้าวขาหมู กว่าจะย่อยต้องใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร

แต่การกินอาหารเผ็ดจัดอาจทำให้เกิดอาการเหมือนเป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะสารแคปไซซินในพริกซึ่งเป็นกรดจะไปทำให้หลอดอาหารหดเกร็ง ทำให้รู้สึกจุกแน่นลิ้นปี่ กรณีที่กินอาหารเผ็ดมากๆ วิธีแก้คือ ต้องกินอาหารที่มันๆ เพราะสารแคปไซซินจะละลายได้ดีในไขมัน แต่ละลายในน้ำได้เพียงเล็กน้อย การดื่มน้ำเย็นจะไม่ช่วยทำให้หายเผ็ด 

ถ้าจะแก้เผ็ดต้องดื่มนม หรือไอศกรีม ซึ่งก็ถือเป็นภูมิปัญญาของคนไทยด้วยที่ใช้ความมันจากกะทิมาดับเผ็ด เห็นได้จากการทำแกงเขียวหวาน หรือแกงต่างๆ ที่ใส่กะทิ

โทษจากการกินเผ็ด หรือภัยจากการกินเผ็ด รสเผ็ดจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานมากขึ้น มีผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ 

และสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ ต้องระวังไม่ให้หัวใจทำงานหนักมากเกินไปเพราะอาจเกิดหัวใจวายได้ ยังมีโรคทางกระเพาะอาหาร เมื่อกินอาหารรสจัด (เผ็ด) เข้าไป จะเกิดกรดในกระเพาะ 

ถ้ากรดมากก็จะทำให้ท้องอืด แสบท้อง ปวดท้อง เวลาถ่ายก็แสบไปด้วย และมีโรคอ้วน เพราะรสเผ็ดช่วยให้เจริญอาหารดี ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น ทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา

นอกจากนี้ยังมีอาการแสบร้อน เพราะพริกมีสารแคปไซซินซึ่งทำปฏิกิริยากับร่างกายของเรา ถ้าละอองพริกเข้าดวงตา หรือสัมผัสกับร่างกาย อาจทำให้แสบตา หรือแสบร้อนบริเวณที่โดนพริก 

ดังนั้นในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาหารรสเผ็ดจัดจะยิ่งทำให้กรดไปกัดแผลในกระเพาะอาหาร 

ส่วนเด็กและคนแก่ ที่สำลักง่าย ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะถ้าสำลักเข้าหลอดลม กรดอาจจะไปกัดหลอดลม ทำให้เกิดปัญหาหลอดลมหดเกร็ง ตีบ บวม หายใจไม่ออกได้

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakk1TURVMU5nPT0=&sectionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE15MHdOUzB5T1E9PQ==

การกินเผ็ดมีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง
กินเผ็ดก็คือกินอาหารที่ใส่ พริกลงไปมากๆ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ตอบไว้ว่า ประโยชน์ของพริกมีหลายอย่าง เช่น ช่วยเพิ่มสารแห่งความสุขคือ เอ็นโดรฟิน บรรเทาอาการเจ็บปวด บรร เทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก ลดปริมาณคอเลสเตอรอล

ทั้งนี้จากงานวิจัยของญี่ปุ่นพบว่า พริกช่วยเพิ่มอุณหภูมิ ในร่างกายและช่วยในการเผาผลาญ มีประโยชน์เรื่องการควบคุมน้ำหนัก

ขณะเดียวกันยังช่วยละลายเสมหะที่เหนียวข้นให้จางลง ช่วยให้ขับเสมหะออกมาได้ง่าย สำหรับผู้ป่วยหอบหืด พริกจะช่วยทำให้หลอดลมขยายตัวได้ดี ไม่หดเกร็ง ดังนั้นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดกินพริกจะดี

การกินพริกยังช่วยลดปริมาณสารที่ทำให้แก่ คือ อินซูลิน มีรายงานว่า 30 นาทีหลังกินพริก อินซูลินจะไม่ขึ้นเลย พออินซูลินไม่ขึ้น ก็จะไม่ทำให้รู้สึกอยากหวาน

นอกจากนี้วิตามินซีในพริกยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง จากผลการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า พริกยังช่วยในการสลายลิ่มเลือดด้วย

นอกจากการบริโภคแล้ว ยังใช้ทำเป็นเจล ใช้ทารักษาผิวหนังอักเสบ แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว เข่าอักเสบ เริม หรืองูสวัด

ส่วนที่หลายคนมีความเชื่อว่าการกินพริกมากๆ หรือรับประทานอาหารรสเผ็ดจัดจะทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารนั้น สารในพริกมีฤทธิ์เป็นกรดก็จริง แต่พริกไม่ได้ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารน่าจะมาจากการกิน อาหารมันๆ มากกว่า เช่น ข้าวขาหมู กว่าจะย่อยต้องใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร

แต่การกินอาหารเผ็ดจัดอาจทำให้เกิดอาการเหมือนเป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะสารแคปไซซินในพริกซึ่งเป็นกรดจะไปทำให้หลอดอาหารหดเกร็ง ทำให้รู้สึกจุกแน่นลิ้นปี่ กรณีที่กินอาหารเผ็ดมากๆ วิธีแก้คือ ต้องกินอาหารที่มันๆ เพราะสารแคปไซซินจะละลายได้ดีในไขมัน แต่ละลายในน้ำได้เพียงเล็กน้อย การดื่มน้ำเย็นจะไม่ช่วยทำให้หายเผ็ด

ถ้าจะแก้เผ็ดต้องดื่มนม หรือไอศกรีม ซึ่งก็ถือเป็นภูมิปัญญาของคนไทยด้วยที่ใช้ความมันจากกะทิมาดับเผ็ด เห็นได้จากการทำแกงเขียวหวาน หรือแกงต่างๆ ที่ใส่กะทิ

โทษจากการกินเผ็ด หรือภัยจากการกินเผ็ด รสเผ็ดจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานมากขึ้น มีผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

และสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ ต้องระวังไม่ให้หัวใจทำงานหนักมากเกินไปเพราะอาจเกิดหัวใจวายได้ ยังมีโรคทางกระเพาะอาหาร เมื่อกินอาหารรสจัด (เผ็ด) เข้าไป จะเกิดกรดในกระเพาะ

ถ้ากรดมากก็จะทำให้ท้องอืด แสบท้อง ปวดท้อง เวลาถ่ายก็แสบไปด้วย และมีโรคอ้วน เพราะรสเผ็ดช่วยให้เจริญอาหารดี ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น ทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา

นอกจากนี้ยังมีอาการแสบร้อน เพราะพริกมีสารแคปไซซินซึ่งทำปฏิกิริยากับร่างกายของเรา ถ้าละอองพริกเข้าดวงตา หรือสัมผัสกับร่างกาย อาจทำให้แสบตา หรือแสบร้อนบริเวณที่โดนพริก

ดังนั้นในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาหารรสเผ็ดจัดจะยิ่งทำให้กรดไปกัดแผลในกระเพาะอาหาร

ส่วนเด็กและคนแก่ ที่สำลักง่าย ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะถ้าสำลักเข้าหลอดลม กรดอาจจะไปกัดหลอดลม ทำให้เกิดปัญหาหลอดลมหดเกร็ง ตีบ บวม หายใจไม่ออกได้