Social Icons

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

6 โรคอันตรายมากับสายฝน แนะกินอาหารที่เหมาะสม


รูปภาพ : 6 โรคอันตรายมากับสายฝน แนะกินอาหารที่เหมาะสม

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) โดยศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ออกโรงเตือนโรคที่มากับสายฝน ฤดูแห่งไวรัสและสารพัดโรคที่มากับน้ำ

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า น้ำฝนนอกจากจะนำความชุ่มฉ่ำ สดชื่น มาให้ แต่ก็สามารถนำสารปนเปื้อนและเชื้อโรคนานาประการมาให้เช่นเดียวกัน จะขอยก 6 โรคที่อาจมากับน้ำฝนได้แก่ 

1. โรคจากไวรัส ซึ่งไวรัสที่สำคัญคือ ไรโนไวรัส ทำให้เกิดหวัดคัดจมูกและเกิดอาการไข้ได้ นอกจากนี้ยังมีไวรัส อาร์เอสวี ที่มักเจาะกลุ่มทารก ทำให้เจ็บป่วยไม่สบายถึงขั้นหลอดลมฝอยอักเสบ และยังมีไวรัสไข้หวัดใหญ่,ไข้เลือดออกและอื่นๆอีกมาก

2. คอติดเชื้อ โรคยอดนิยมที่พบมากในฤดูฝน ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอเป็นหลัก มีไข้ปวดเมื่อยตามตัว และในบางรายจะมีน้ำมูกร่วมด้วย เกิดได้จากอากาศที่เย็นชื้นจนเป็นที่ชื่นชอบของไวรัส และเกิดได้จากการเผลอกลืนน้ำฝนปนเปื้อนลงคอไปจนทำให้คออักเสบ 

3. ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ เป็นอีกเรื่องที่พบบ่อย ในฤดูฝนน้ำที่ปนเปื้อนอาจพบเชื้อ อีโคไลซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้ลำไส้อักเสบติดเชื้อได้ ในบรรดาอาหารที่เข้าข่ายเสี่ยงมักเป็นของสดอย่างผักผลไม้ตามตลาดสดที่เฉอะแฉะ น้ำที่กระเซ็นใส่มีเสี่ยงเชื้ออีโคไลได้สูง

4. ผิวหนังอักเสบ น้ำฝนที่ขังตามพื้นถนนจนเน่าเหม็นทำให้เกิดการติดเชื้อได้หากสัมผัสโดน อย่างไรก็ตาม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องหมั่นล้างมือล้างเท้าให้บ่อยขึ้นในฤดูฝนนี้ เพราะน้ำที่สกปรกจะทำให้เกิดผิวหนังติดเชื้อ,แผลเบาหวานเรื้อรัง,เชื้อรา,หนังศีรษะอักเสบคัน, จนถึงทำให้เกิดตุ่มหนองและฝีได้ตามผิวเด็กอ่อนๆ 

5. โรคฉี่หนู ถนนไหนมีน้ำขังผสมปนเปกับท่อระบายน้ำที่นั่นก็จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อฉี่หนูหรือเล็พโตสไปโรซิสได้ แม้ในรายที่รื้อบ้านแล้วมีมูลหนูปนออกมาจนเผลอไปเหยียบเข้าผ่านจากผิวหนังที่เป็นแผลก็จะทำให้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดตามตัวโดยเฉพาะน่อง เบื่ออาหาร 

6. ไข้เลือดออก ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้ทั้งสิ้น หากมีอาการไข้สูงไม่ลดสักทีบวกกับมีเบื่ออาหาร เกิดอาการอ่อนเพลียเซื่องซึม ขอให้นึกไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออกให้รีบไปพบแพทย์

นพ.กฤษดา กล่าวว่า เพื่อเป็นการป้องกัน ควรเลี่ยงความเปียกชื้น พยายามอาบน้ำสระผมและเช็ดตัวให้แห้งอยู่เสมอ และหากกำลังมองหาอาหารที่เหมาะกับฤดูฝน ก็ขอแนะนำเป็น ผัดผักบุ้ง, แกงส้มมะละกอ และน้ำเสาวรส จะช่วยปรับสมดุลย์สุขภาพได้ง่ายๆ สไตล์อายุรวัฒน์

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/34829

6 โรคอันตรายมากับสายฝน แนะกินอาหารที่เหมาะสม

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) โดยศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ออกโรงเตือนโรคที่มากับสายฝน ฤดูแห่งไวรัสและสารพัดโรคที่มากับน้ำ

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า น้ำฝนนอกจากจะนำความชุ่มฉ่ำ สดชื่น มาให้ แต่ก็สามารถนำสารปนเปื้อนและเชื้อโรคนานาประการมาให้เช่นเดียวกัน จะขอยก 6 โรคที่อาจมากับน้ำฝนได้แก่

1. โรคจากไวรัส ซึ่งไวรัสที่สำคัญคือ ไรโนไวรัส ทำให้เกิดหวัดคัดจมูกและเกิดอาการไข้ได้ นอกจากนี้ยังมีไวรัส อาร์เอสวี ที่มักเจาะกลุ่มทารก ทำให้เจ็บป่วยไม่สบายถึงขั้นหลอดลมฝอยอักเสบ และยังมีไวรัสไข้หวัดใหญ่,ไข้เลือดออกและอื่นๆอีกมาก

2. คอติดเชื้อ โรคยอดนิยมที่พบมากในฤดูฝน ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอเป็นหลัก มีไข้ปวดเมื่อยตามตัว และในบางรายจะมีน้ำมูกร่วมด้วย เกิดได้จากอากาศที่เย็นชื้นจนเป็นที่ชื่นชอบของไวรัส และเกิดได้จากการเผลอกลืนน้ำฝนปนเปื้อนลงคอไปจนทำให้คออักเสบ

3. ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ เป็นอีกเรื่องที่พบบ่อย ในฤดูฝนน้ำที่ปนเปื้อนอาจพบเชื้อ อีโคไลซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้ลำไส้อักเสบติดเชื้อได้ ในบรรดาอาหารที่เข้าข่ายเสี่ยงมักเป็นของสดอย่างผักผลไม้ตามตลาดสดที่เฉอะแฉะ น้ำที่กระเซ็นใส่มีเสี่ยงเชื้ออีโคไลได้สูง

4. ผิวหนังอักเสบ น้ำฝนที่ขังตามพื้นถนนจนเน่าเหม็นทำให้เกิดการติดเชื้อได้หากสัมผัสโดน อย่างไรก็ตาม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องหมั่นล้างมือล้างเท้าให้บ่อยขึ้นในฤดูฝนนี้ เพราะน้ำที่สกปรกจะทำให้เกิดผิวหนังติดเชื้อ,แผลเบาหวานเรื้อรัง,เชื้อรา,หนังศีรษะอักเสบคัน, จนถึงทำให้เกิดตุ่มหนองและฝีได้ตามผิวเด็กอ่อนๆ

5. โรคฉี่หนู ถนนไหนมีน้ำขังผสมปนเปกับท่อระบายน้ำที่นั่นก็จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อฉี่หนูหรือเล็พโตสไปโรซิสได้ แม้ในรายที่รื้อบ้านแล้วมีมูลหนูปนออกมาจนเผลอไปเหยียบเข้าผ่านจากผิวหนังที่เป็นแผลก็จะทำให้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดตามตัวโดยเฉพาะน่อง เบื่ออาหาร

6. ไข้เลือดออก ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้ทั้งสิ้น หากมีอาการไข้สูงไม่ลดสักทีบวกกับมีเบื่ออาหาร เกิดอาการอ่อนเพลียเซื่องซึม ขอให้นึกไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออกให้รีบไปพบแพทย์

นพ.กฤษดา กล่าวว่า เพื่อเป็นการป้องกัน ควรเลี่ยงความเปียกชื้น พยายามอาบน้ำสระผมและเช็ดตัวให้แห้งอยู่เสมอ และหากกำลังมองหาอาหารที่เหมาะกับฤดูฝน ก็ขอแนะนำเป็น ผัดผักบุ้ง, แกงส้มมะละกอ และน้ำเสาวรส จะช่วยปรับสมดุลย์สุขภาพได้ง่ายๆ สไตล์อายุรวัฒน์