Social Icons

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรควัณโรคปอดและการป้องกัน


โรควัณโรคปอดและการป้องกัน

วัณโรค ซึ่งเป็นแบคทีเรียชื่อ  ไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส  บางครั้งเรียกว่า  เชื้อเอเอฟบี เป็นโรคติดต่อที่เรื้อรัง และเป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เช่น ที่ต่อมน้ำเหลือง กระดูก เยื่อหุ้มสมอง ปอด แต่วัณโรคที่เป็นกันมากและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอยู่ในขณะนี้ก็คือ วัณโรคปอด มักพบในคนแก่คนที่ร่างกายอ่อนแอจากการเป็นโรคอื่น ๆ มาก่อน เช่น หวัด หัด ไอกรน พวกติดยาและโรคเอดส์และในคนที่ตรากตรำทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ ขาดอาหาร ดื่มเหล้าจัด หรือในคนที่มีประวัติใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรค เช่น นอนห้องเดียวกัน หรืออยู่บ้านเดียวกัน

สาเหตุของวัณโรคปอด
วัณโรคปอดเกิดจากเชื้อวัณโรค  ซึ่งเป็นแบคทีเรียชื่อ  ไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส  บางครั้งเรียกว่า  เชื้อเอเอฟบีวัณโรคปอดมักจะมีการติดต่อโดยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ไอจาม  หรือหายใจรด  ซึ่งผู้ติดเชื้อจะสูดเอาเชื้อวัณโรคเข้าไปในปอดโดยตรง  ดังนั้นผู้ติดเชื้อจึงมักมีประวัติสัมผัสใหล้ชิด  เช่น  นอนห้องเดียวกัน  หรืออยู่บ้านเดียวกันกับผู้ป่วยวัณโรคปอด
           ส่วนการติดต่อโดยตรงทางอื่นนับว่ามีโอกาสน้อยมาก  แต่ก็มีบางกรณีที่อาจพบได้ก็โดยการกลืนเชื้อที่ติดมากับอาหารหรือภาชนะ  โดยเชื้อจะเข้าทางต่อมทอนซิลหรือลำไส้  แล้วเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง  ซึ่งบางครั้งอาจลุกลามเข้ากระแสเลือดไปยังปอด  สมอง  กระดูก  ไต  หรืออวัยวะอื่น ๆ  ได้

        ผู้ป่วยมักจะได้รับเชื้อวัณโรคเข้าไปในร่างกายครั้งแรกในระยะที่เป็นเด็กหรือในบางรายอาจได้รับเชื้อตอนโตก็ได้โดยไม่มีอาการแสดงแต่อย่างไร  ยกเว้นบางคนอาจมีอาการของปอดอักเสบเล็กน้อยอยู่สักระยะหนึ่งแล้วหายไปได้เอง  เพราะร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นกำจัดเชื้อวัณโรค  ดังนั้น  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อวัณโรคครั้งแรกจึงมักจะเข็งแรงเป็นปกติดี
          แต่อย่างไรก็ตาม  เชื้อวัณโรคที่ยังอาจหลงเหลืออยู่บ้าง  ซึ่งก็จะหลบซ่อนอยู่ในปอดและอวัยวะอื่น ๆ  อย่างสงบนานแรมปี  ตราบใดที่ร่างกายแข็งแรงดีก็จะไม่เกิดโรคแต่อย่างไร  แต่ถ้าต่อมาซึ่งอาจกินเวลาหลายปีหรือสิบ ๆ  ปี  เมื่อร่างกายเกิดอ่อนแอด้วนสาเหตุใดก็ตาม  เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะแบ่งตัวเจริญเติบโตจนทำให้เกิดเป็นวัณโรคของปอด
          นอกจากนี้  ในผู้ป่วยบางรายที่รับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายเป็นครั้งแรก  เชื้อก็อาจลุกลามจนกลายเป็นวัณโรคในทันทีได้  ทั้งนี้  บางกรณีก็อาจกลายเป็นวัณโรคชนิดร้ายแรงได้

อาการของวัณโรคปอด
ผู้ติดเชื้อวัณโรคปอดมักจะค่อย ๆ  ป่วยด้วยอาการของวัณโรคปอดดังต่อไปนี้
มีอาการอ่อนเพลีย
บางครั้งอาจะมีมีอาการเบื่ออาหาร  และมีน้ำหนักลด
อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว  หรือเป็นไข้ต่ำ ๆ  ตอนบาย
มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
มีอาการไอ  โดยระยะแรก ๆ  ไอแห้ง ๆ  ต่อมาจึงมีเสมหะ  และไอมากเวลาเข้านอน  หรือตื่นนอนตอนเช้า  หรือหลังอาหาร  ทั่งนี้  อาการไอจะเรื้อรังเป็ฯแรมเดือน  แต่บางคนอาจไม่มีอาการไดเลยก็ได้
ผู้ป่วยอาจรู้สึกแน่นหรือเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีอาการไอ
ในรายที่เป็นมาก  อาจจะมีอาการหอบหรือไอเป็นเลือดก้อนแดง ๆ  หรือดำ ๆ  แต่น้อยรายที่จะมีเลือดออกมากถึงกับช็อก
ในรายที่เป็นน้อย ๆ  อาจไม่มีอาการอะไรเลย  และมักตรวจพบโดยบังเอิญจากการเห็นจุดในปอดบนภาพถ่ายเอกซเรย์
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเป็นไข้นานเป็นแรมเดือน  โดยไม่รู้สาเหตุ
ในกรณีที่เกิดในเด็ก  อาการมักจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่  เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกัน

การป้องกันวัณโรคปอดสามารถทำได้ดังนี้
การป้องกันวัณโรคปอดสามรถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนบีซีจี ในเด็กและผู้ที่มีผลการทดสอบทูเบอร์คูลิน  เป็นลบ  ทั้งนี้ในปัจจุบันตามโรงพยาาลต่าง ๆจะทำการฉีดวัคซีนนี้ให้แกทารกตั้งแต่แรกเกิดเพื่อเป็นการป้องกันวัณโรค  ซึ่งโดยทั่วไปมักฉีดให้เพียงเข็มเดียว 
ในกรณีของผู้ที่สัมผัสโรค  โดยเฉพาะในเด็กเล็กหรือทารก  แพทย์อาจให้รับประทานยาไอเอ็นเอช  เพื่อเป็นการป้งอกันเป็นเวลา  1  ปี